ด้านสาธารณสุข
โครงการยกระดับคุณภาพด้านการแพทย์ และสาธารณสุข
โครงการยกระดับคุณภาพด้านการแพทย์ และสาธารณสุข
โรงพยาบาลพล จังหวัดขอนแก่น
ระบบสาธารณสุขเป็นปัจจัยพื้นฐานที่จำเป็นของประชาชน การที่ประชาชนมีสุขภาพแข็งแรง ไม่เจ็บป่วยเป็นโรค นับเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้เกิดการยกระดับคุณภาพชีวิตและการพัฒนาสังคม การพัฒนาระบบสาธารณสุขให้ได้มาตรฐานและครอบคลุมพื้นที่อยู่อาศัยของประชาชน จึงเป็นเรื่องจำเป็นต่อการพัฒนาคนที่นำไปสู่การพัฒนาประเทศชาติให้ก้าวหน้าอย่างยั่งยืน
มูลนิธิสุทธิรัตน์ อยู่วิทยา และโรงพยาบาลพล จังหวัดขอนแก่น ได้ลงนามข้อตกลงความร่วมมือ (Memorandum of Understanding : MOU) ในวันที่ 3 ธันวาคม 2563 เพื่อดำเนินโครงการ “การพัฒนาศักยภาพของโรงพยาบาลพลเป็นโรงพยาบาลแม่ข่าย (Middle-level hospital : M2) ขอนแก่นโซนใต้ ” โดยมีเป้าหมายในการก่อสร้างอาคารผู้ป่วยนอก ขนาด 3 ชั้น ให้บริการใน 4 มิติ ได้แก่ การส่งเสริมสุขภาพ การควบคุมป้องกันโรค การรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ ให้บริการประชาชนที่อยู่ในเขตพื้นที่อำเภอพล อำเภอหนองสองห้อง อำเภอแวงน้อย และอำเภอแวงใหญ่ ซึ่งส่งผลให้ประชาชนได้รับความสะดวกรวดเร็วในการรักษา ได้รับการบริการโดยแพทย์เฉพาะทาง และลดภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางไกลเพื่อไปรักษายังโรงพยาบาลขอนแก่น
ในปี 2563 ได้เริ่มดำเนินการวางแผน ออกแบบด้านสถาปัตย์ โครงสร้าง งานระบบที่สอดคล้องกับเป้าหมายและเป็นไปตามมาตรฐานการบริการด้านสาธารณสุข โดยมีแผนเริ่มต้นดำเนินงานก่อสร้างในปี 2564 และสิ้นสุดในปี 2566
Q: อะไรคือสาเหตุที่ ผอ.อยากผลักดันให้โรงพยาบาลพลให้เป็นโรงพยาบาลแม่ข่าย และมีข้อดีอย่างไร
A: อันดับแรกนโยบายของจังหวัดในการพัฒนาศักยภาพของโรงพยาบาลขนาดกลาง ให้มีศักยภาพในการรักษาให้ได้มาตรฐาน ให้ประชาชนได้เข้าถึงการบริการที่ได้รับคุณภาพ ดังนั้น การพัฒนาโรงพยาบาลขนาดกลางให้มีศักยภาพจึงเป็นการกระจายการบริการให้ได้มาตรฐานไปสู่ประชาชนในเขตชุมชนอย่างทั่วถึง เช่น โรงพยาบาลกระนวน บ้านไผ่ ชุมแพ และพล
ข้อดี
1) ประชาชนในพื้นที่ห่างไกลจากโรงพยาบาลในเมือง เข้าถึงการบริการได้ทันท่วงที
2) โรงพยาบาลขนาดกลางพัฒนาศักยภาพและรองรับการบริการในเขตพื้นที่ได้มากขึ้น 3 เท่า
3) ลดระยะเวลาในการเดินทางไปโรงพยาบาลของประชาชนในพื้นที่ห่างไกล
Q: โรงพยาบาลพลมีแนวทาง หรือวิธีในการพัฒนาโรงพยาบาลชุมชนให้เป็นโรงพยาบาลแม่ข่ายอย่างไร ?
A: การรับนโยบายจากจังหวัดมา โรงพยาบาลก็มีการเตรียมความพร้อม โดยการวางเป้าหมาย ยุทธศาสตร์การพัฒนาโรงพยาบาลเพื่อให้สอดรับกับการพัฒนาสู่การเป็นโรงพยาบาลแม่ข่าย คือ
1) การพัฒนาศักยภาพทรัพยากรบุคคล คือ การส่งบุคลากรทางการแพทย์ไปศึกษาต่อในด้านความเชี่ยวชาญเฉพาะ เช่น ศัลยกรรม สูติกรรม กุมารเวช ศัลยศาสตร์ (กระดูก) อายุรกรรม โดยส่งไปสาขาละ 2 คน ระยะเวลาในการเรียน และสามารถกลับมาทำงานในโรงพยาบาล คือ 2563-2566 ก็จะมีบุคลากรที่สามารถมาปฏิบัติงานในโรงพยาบาลได้ทัน
2) การพัฒนาด้านสถานที่และเครื่องมือทางการแพทย์ โรงพยาบาลพลได้ปรับปรุงตัวอาคารผู้ป่วยนอก จากความร่วมมือทั้งหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ประชาชน ในการสร้างอาคารที่มีความพร้อมในการรองรับผู้มาใช้บริการ ทั้งนี้ ในส่วนของอาคารผู้ป่วยนอก มีการระดมทุนจากหลายภาคส่วน และได้รับสนับสนุนจากมูลนิธิสุทธิรัตน์ อยู่วิทยา ด้วย ก็ขอขอบพระคุณมา ณ โอกาส นี้ด้วย เพื่อให้มีอุปกรณ์ที่ครบครันและสอดรับกับจำนวนแพทย์เฉพาะทางที่จะจบมาทำงานในโรงพยาบาลในปี 2566
Q: ประชาชนมีส่วนช่วยในการผลักดันให้โรงพยาบาลพล เป็นโรงพยาบาลแม่ข่ายอย่างไร
A: โรงพยาบาลพลได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาโรงพยาบาลพล โดยมีตัวแทนประชาชนมาเป็นคณะกรรมการ ทั้งตัวแทนภาครัฐ ภาคประชาสังคม ภาคประชาชน พ่อค้า คหบดี มาร่วมวางแผนการพัฒนา กำหนดแนวทางการทำงานร่วมกันของโรงพยาบาลและชุมชน ทั้งนี้โรงพยาบาลเปิดโอกาสให้ประชาชนร่วมแสดงความคิดเห็นต่อการดำเนินงานของโรงพยาบาล เปิดเวทีทำความเข้าใจ ชี้แจง อย่างชัดเจน เพื่อให้ชุมชน ประชาชน เข้าใจอย่างเดียวกันว่า เป้าหมาย คือ “เป็นโรงพยาบาลชุมชน โดยชุมชน เพื่อประชาชนอย่างแท้จริง”
Q: โรงพยาบาลพล มีการเชื่อมประสาน หรือบูรณาการความร่วมมือกับประชาชน อย่างไร
A: ให้ความสำคัญกับการทำงานแบบบูรณาการกับหน่วยงานทุกภาคส่วน เพราะถือว่าภาคีความร่วมมือมีความสำคัญต่อการพัฒนาโรงพยาบาล ทั้งภาคีระดับหน่วยงาน ภาคีระดับชุมชน ภาคประชาสังคม ประชาชนทั่วไป เขาต้องมีบทบาทในการรับรู้รับทราบการทำงานของเรา “ ร่วมกันบริหารโรงพยาบาล” คือ ทำให้ชุมชน หรือ ประชาชน รู้สึกเป็นเจ้าของไม่ใช่เป็นแค่ผู้มารับบริการจากเรา
Q: สิ่งที่อยากบอกมูลนิธิสุทธิรัตน์ อยู่วิทยา
A: ขอขอบพระคุณ คณะผู้บริหาร กรรมการ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ของมูลนิธิสุทธิรัตน์ อยู่วิทยา ทุกท่านที่ได้ให้ความอนุเคราะห์และเล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาโรงพยาบาลขนาดเล็กของเราให้มีศักยภาพในด้านการให้บริการประชาชน ทำให้ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลเข้าถึงการบริการของภาครัฐ การเป็นแม่ข่ายในการดูแลในอนาคตสามารถดูแลและให้บริการประชาชนได้เพิ่มมากขึ้นภาพโมเดลอาคารผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลพล จังหวัดขอนแก่น
โครงการยกระดับคุณภาพด้านการแพทย์ และสาธารณสุข
โรงพยาบาลพล จังหวัดขอนแก่น
ในปี 2563 มูลนิธิสุทธิรัตน์ อยู่วิทยา และโรงพยาบาลพล จังหวัดขอนแก่น ได้ลงนามข้อตกลงความร่วมมือ (Memorandum of Understanding : MOU) เพื่อดำเนินโครงการ “การพัฒนาศักยภาพของโรงพยาบาลพลเป็นโรงพยาบาลแม่ข่าย (Middle-level hospital : M2) ขอนแก่นโซนใต้” โดยมีเป้าหมายในการก่อสร้างอาคารผู้ป่วยนอก ขนาด 3 ชั้น ให้บริการใน 4 มิติ ได้แก่ การส่งเสริมสุขภาพ การควบคุมป้องกันโรค การรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ ให้บริการประชาชนที่อยู่ในเขตพื้นที่อำเภอพล อำเภอหนองสองห้อง อำเภอแวงน้อย และอำเภอแวงใหญ่ ซึ่งส่งผลให้ประชาชนได้รับความสะดวกรวดเร็วในการรักษา ได้รับการบริการโดยแพทย์เฉพาะทาง และลดภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางไกลเพื่อไปรักษายังโรงพยาบาลขอนแก่น โดยมีแผนการก่อสร้างอาคาร ดังนี้