Organic Agriculture
โครงการให้ความรู้ และรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ SALANA PGS
โครงการให้ความรู้ และรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ SALANA PGS
เกษตรกรเคลือข่าย
มูลนิธิสุทธิรัตน์ อยู่วิทยา ส่งเสริมความรู้และให้การรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ SALANA PGS ซึ่งเป็นมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ที่ให้ความสำคัญกับ “การรับรองแบบมีส่วนร่วม (Participatory Guarantee Systems : PGS)” แก่เกษตรกรที่เพาะปลูกพืช ปศุสัตว์ และประมง (เริ่มปี 2561)
เป้าหมายโครงการเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับเกษตรกรในการทำเกษตรอินทรีย์ ให้เกิดการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตจากระบบเคมีเป็นระบบอินทรีย์ที่เป็นไปตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ SALANA PGS พร้อมผลักดันเกษตรกรทั้งรายเดี่ยวและรายกลุ่มเข้าสู่ระบบตลาดเกษตรอินทรีย์ และต่อยอดไปสู่การขอรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์สากลในอนาคต
การดําเนินงานโครงการดำเนินงานกิจกรรมให้ความรู้ ตรวจรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ SALANA PGS แก่เกษตรกรทั้งรายเดี่ยวและรายกลุ่ม พร้อมผลักดันเข้าสู่ระบบตลาดเกษตรอินทรีย์
1 ให้ความรู้เรื่องการผลิตในระบบเกษตรอินทรีย์
ดำเนินงานลงพื้นที่ให้ความรู้กับเกษตรกรที่มีความสนใจทำเกษตรอินทรีย์ โดยการให้ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ การเตรียมความพร้อมในการปรับเปลี่ยน วิธีการผลิต ขั้นตอนการขอรับรองมาตรฐาน และโอกาสทางการตลาด
2 ตรวจ และรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ SALANA PGS
ดำเนินงานตรวจ รับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ SALANA PGS จำนวน 38 ราย โดยมีเกษตรกรได้รับการรับรอง จำนวน 33 ราย และไม่ได้รับการรับรอง จำนวน 5 ราย ซึ่งมีรายละเอียดการรับรอง ดังนี้
2.1 การรับรองมาตรฐานโดยไม่มีเงื่อนไข(ปฏิบัติตามข้อกําหนด) จำนวน 26 ราย โดยเกษตรกรมีการปฏิบัติ ดังนี้ :
1) มีการจัดการระบบควบคุมภายใน (Internal Control System : ICS) เพื่อควบคุมกระบวนการผลิตของสมาชิกในกลุ่ม ตั้งแต่การเพาะปลูก การเก็บเกี่ยว การเก็บรักษา และการจำหน่าย ที่เป็นไปตามมาตรฐานควบคุมภายใน2) มีวิธีการในการจัดการศัตรูพืชและการระบาดของโรคด้วยวิธีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น การยับยั้งการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าวด้วยการฉีดพ่นน้ำหมักสะเดา เป็นต้น
3) มีการเก็บเมล็ดพันธุ์ และการอนุรักษ์พันธุ์ข้าวอินทรีย์ เพื่อใช้ในการเพาะปลูกในฤดูกาลถัดไป
4) มีการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีเกี่ยวกับข้าว อาทิ พิธีแรกนา พิธีรับท้องข้าว พิธีแรกเกี่ยว พิธีบุญคูณลาน พิธีสู่ขวัญข้าว ประเพณีก่อเจดีย์ข้าวเปลือก เป็นต้น ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการเคารพต่อธรรมชาติที่ถ่ายทอดผ่านวัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิม
2.2 การรับรองมาตรฐานโดยมีเงื่อนไข (ต้องแก้ไขให้เป็นไปตามข้อกําหนด) จำนวน 7 ราย โดยมีข้อเสนอแนะสำหรับเกษตรกร ดังนี้ :
1) อาหารสัตว์มีส่วนผสมของวัสดุอินทรีย์ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด โดยแนะนำเกษตรกรปรับสูตรอาหารสัตว์ให้มีส่วนผสมของวัสดุอินทรีย์ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 602) แนวกันชนบางจุดมีความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนสารเคมีจากแปลงข้างเคียง โดยแนะนำเกษตรกรปรับปรุงแนวกันชน ด้วยการปลูกพืชหรือใช้วัสดุอื่นๆ เช่น สแลน ในระดับที่สูงกว่าพืชที่ขอรับรอง
3) การผลิตมีความเสี่ยงต่อการใช้สารเคมี เนื่องจากพบภาชนะบรรจุสารเคมีในแปลง เช่น กระสอบปุ๋ยเคมีที่นำมาใส่วัสดุเพาะปลูก ซึ่งอาจมาจากการขาดความเข้าใจในเรื่องการแยกเก็บหรือการทำลายที่ถูกต้อง โดยแนะนำให้เกษตรกรนำภาชนะดังกล่าวออกจากแปลงที่ขอรับรอง และทำความเข้าใจเกี่ยวกับข้อกำหนดเรื่องการจัดเก็บวัสดุและปัจจัยการผลิต
4) การจดบันทึกกิจกรรมภายในฟาร์มไม่ครบถ้วน ซึ่งเกษตรกรอาจจะบันทึกข้อมูลไม่ละเอียดเพียงพอตามข้อกำหนด โดยแนะนำเกษตรกรจดบันทึกข้อมูลกิจกรรมภายในฟาร์มให้ละเอียดและเป็นปัจจุบัน
5) แหล่งน้ำที่ใช้ในการเพาะปลูกมีความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนสารเคมี เนื่องจากมีการใช้น้ำจากแหล่งน้ำสาธารณะที่ไหลผ่านแปลงเคมี หรือโรงงานอุตสาหกรรม โดยแนะนำเกษตรกรให้มีการแก้ไขป้องกันให้สอดคล้องกับข้อกำหนด เช่น การปลูกพืชกรองน้ำ การทำบ่อพักน้ำ เป็นต้น เพื่อลดการปนเปื้อนของสารเคมีในแปลง
2.3 การไม่รับรองมาตรฐาน (ไม่ปฏิบัติตามข้อกําหนด) จำนวน 5 ราย โดยมีข้อเสนอแนะสำหรับเกษตรกร ดังนี้ :
1) อาหารสัตว์ที่เกษตรกรใช้มีส่วนผสมของยาปฏิชีวนะ ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดของมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ SALANA PGS โดยเกษตรกรต้องเปลี่ยนมาใช้อาหารสัตว์อินทรีย์จากแหล่งจำหน่ายที่สามารถตรวจสอบและเชื่อถือได้2) อาหารแปรรูปมีส่วนผสมของสารสังเคราะห์ ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดของมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ SALANA PGS โดยเกษตรกรต้องศึกษาและทำความเข้าใจหลักเกณฑ์การรับรองในขอบข่ายรายการอาหารอินทรีย์ในร้านอาหารอย่างละเอียด
3) มีการผลิตแบบคู่ขนาน คือ การเพาะปลูกพืชชนิดเดียวกันในแปลงที่ขอรับการรับรองและแปลงเคมี หรือแปรรูปผลผลิต ผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวกันในแบบอินทรีย์และในแบบเคมี ในช่วงเวลาเดียวกัน โดยเกษตรกรต้องมีการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตให้เป็นไปตามข้อกำหนดของมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ SALANA PGS
4) ไม่มีแนวกันชนป้องกันการปนเปื้อนสารเคมีจากแปลงข้างเคียง โดยเกษตรกรต้องสร้างแนวกันชน เพื่อให้มั่นใจได้ว่าไม่เสี่ยงต่อการปนเปื้อนสารเคมีทั้งทางน้ำและทางอากาศ
5) มีการใช้สารเคมีในแปลง โดยเกษตรกรต้องหยุดใช้สารเคมีทุกชนิดในกระบวนการผลิต และเข้าสู่ระยะปรับเปลี่ยนไม่ต่ำกว่า 12 เดือน
ทะเบียนเกษตรกรที่รับรอง
3 ผลักดันเกษตรกรเข้าสู่ระบบตลาดเกษตรอินทรีย์
ดำเนินงานสร้างการเชื่อมโยงระหว่างภาคีเครือข่าย ประกอบด้วย บริษัท ศาลานา ออแกนิค วิลเลจ (วิสาหกิจเพื่อสังคม) จำกัด และตลาดบ้านรังนก กับเกษตรกร หรือกลุ่มเกษตรกรที่ได้รับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ SALANA PGS ให้เกิดการตกลงซื้อขายและมีพื้นที่สำหรับขายผลผลิตอินทรีย์ให้กับผู้บริโภค ส่งผลให้เกิดรายได้และโอกาสทางการตลาดที่หลากหลาย ในขณะเดียวกันสำหรับเกษตรกร หรือกลุ่มเกษตรกรที่มีความต้องการ และมีศักยภาพสามารถต่อยอดไปสู่ผู้ประกอบการ จะได้รับการสนับสนุนผ่านโครงการพัฒนาศักยภาพการเป็นผู้ประกอบการธุรกิจชุมชนต่อไป
โครงการให้ความรู้ และรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ SALANA PGS
เกษตรกรเคลือข่าย
การดําเนินงานโครงการ
ดำเนินงานกิจกรรมให้ความรู้ ตรวจรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ SALANA PGS แก่เกษตรกรทั้งรายเดี่ยวและรายกลุ่ม พร้อมผลักดันเข้าสู่ระบบตลาดเกษตรอินทรีย์
1 ให้ความรู้เรื่องการผลิตในระบบเกษตรอินทรีย์
ดำเนินงานลงพื้นที่ให้ความรู้กับเกษตรกรที่มีความสนใจทำเกษตรอินทรีย์ โดยการให้ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ การเตรียมความพร้อมในการปรับเปลี่ยน วิธีการผลิต ขั้นตอนการขอรับรองมาตรฐาน และโอกาสทางการตลาด
2 ตรวจ และรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ SALANA PGS
ดำเนินงานตรวจ รับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ SALANA PGS จำนวน 38 ราย โดยมีเกษตรกรได้รับการรับรอง จำนวน 33 ราย และไม่ได้รับการรับรอง จำนวน 5 ราย ซึ่งมีรายละเอียดการรับรอง ดังนี้
2.1 การรับรองมาตรฐานโดยไม่มีเงื่อนไข(ปฏิบัติตามข้อกําหนด) จำนวน 26 ราย โดยเกษตรกรมีการปฏิบัติ ดังนี้ :
1) มีการจัดการระบบควบคุมภายใน (Internal Control System : ICS) เพื่อควบคุมกระบวนการผลิตของสมาชิกในกลุ่ม ตั้งแต่การเพาะปลูก การเก็บเกี่ยว การเก็บรักษา และการจำหน่าย ที่เป็นไปตามมาตรฐานควบคุมภายใน2) มีวิธีการในการจัดการศัตรูพืชและการระบาดของโรคด้วยวิธีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น การยับยั้งการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าวด้วยการฉีดพ่นน้ำหมักสะเดา เป็นต้น
3) มีการเก็บเมล็ดพันธุ์ และการอนุรักษ์พันธุ์ข้าวอินทรีย์ เพื่อใช้ในการเพาะปลูกในฤดูกาลถัดไป
4) มีการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีเกี่ยวกับข้าว อาทิ พิธีแรกนา พิธีรับท้องข้าว พิธีแรกเกี่ยว พิธีบุญคูณลาน พิธีสู่ขวัญข้าว ประเพณีก่อเจดีย์ข้าวเปลือก เป็นต้น ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการเคารพต่อธรรมชาติที่ถ่ายทอดผ่านวัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิม
2.2 การรับรองมาตรฐานโดยมีเงื่อนไข (ต้องแก้ไขให้เป็นไปตามข้อกําหนด) จำนวน 7 ราย โดยมีข้อเสนอแนะสำหรับเกษตรกร ดังนี้ :
1) อาหารสัตว์มีส่วนผสมของวัสดุอินทรีย์ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด โดยแนะนำเกษตรกรปรับสูตรอาหารสัตว์ให้มีส่วนผสมของวัสดุอินทรีย์ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 602) แนวกันชนบางจุดมีความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนสารเคมีจากแปลงข้างเคียง โดยแนะนำเกษตรกรปรับปรุงแนวกันชน ด้วยการปลูกพืชหรือใช้วัสดุอื่นๆ เช่น สแลน ในระดับที่สูงกว่าพืชที่ขอรับรอง
3) การผลิตมีความเสี่ยงต่อการใช้สารเคมี เนื่องจากพบภาชนะบรรจุสารเคมีในแปลง เช่น กระสอบปุ๋ยเคมีที่นำมาใส่วัสดุเพาะปลูก ซึ่งอาจมาจากการขาดความเข้าใจในเรื่องการแยกเก็บหรือการทำลายที่ถูกต้อง โดยแนะนำให้เกษตรกรนำภาชนะดังกล่าวออกจากแปลงที่ขอรับรอง และทำความเข้าใจเกี่ยวกับข้อกำหนดเรื่องการจัดเก็บวัสดุและปัจจัยการผลิต
4) การจดบันทึกกิจกรรมภายในฟาร์มไม่ครบถ้วน ซึ่งเกษตรกรอาจจะบันทึกข้อมูลไม่ละเอียดเพียงพอตามข้อกำหนด โดยแนะนำเกษตรกรจดบันทึกข้อมูลกิจกรรมภายในฟาร์มให้ละเอียดและเป็นปัจจุบัน
5) แหล่งน้ำที่ใช้ในการเพาะปลูกมีความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนสารเคมี เนื่องจากมีการใช้น้ำจากแหล่งน้ำสาธารณะที่ไหลผ่านแปลงเคมี หรือโรงงานอุตสาหกรรม โดยแนะนำเกษตรกรให้มีการแก้ไขป้องกันให้สอดคล้องกับข้อกำหนด เช่น การปลูกพืชกรองน้ำ การทำบ่อพักน้ำ เป็นต้น เพื่อลดการปนเปื้อนของสารเคมีในแปลง
2.3 การไม่รับรองมาตรฐาน (ไม่ปฏิบัติตามข้อกําหนด) จำนวน 5 ราย โดยมีข้อเสนอแนะสำหรับเกษตรกร ดังนี้ :
1) อาหารสัตว์ที่เกษตรกรใช้มีส่วนผสมของยาปฏิชีวนะ ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดของมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ SALANA PGS โดยเกษตรกรต้องเปลี่ยนมาใช้อาหารสัตว์อินทรีย์จากแหล่งจำหน่ายที่สามารถตรวจสอบและเชื่อถือได้2) อาหารแปรรูปมีส่วนผสมของสารสังเคราะห์ ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดของมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ SALANA PGS โดยเกษตรกรต้องศึกษาและทำความเข้าใจหลักเกณฑ์การรับรองในขอบข่ายรายการอาหารอินทรีย์ในร้านอาหารอย่างละเอียด
3) มีการผลิตแบบคู่ขนาน คือ การเพาะปลูกพืชชนิดเดียวกันในแปลงที่ขอรับการรับรองและแปลงเคมี หรือแปรรูปผลผลิต ผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวกันในแบบอินทรีย์และในแบบเคมี ในช่วงเวลาเดียวกัน โดยเกษตรกรต้องมีการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตให้เป็นไปตามข้อกำหนดของมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ SALANA PGS
4) ไม่มีแนวกันชนป้องกันการปนเปื้อนสารเคมีจากแปลงข้างเคียง โดยเกษตรกรต้องสร้างแนวกันชน เพื่อให้มั่นใจได้ว่าไม่เสี่ยงต่อการปนเปื้อนสารเคมีทั้งทางน้ำและทางอากาศ
5) มีการใช้สารเคมีในแปลง โดยเกษตรกรต้องหยุดใช้สารเคมีทุกชนิดในกระบวนการผลิต และเข้าสู่ระยะปรับเปลี่ยนไม่ต่ำกว่า 12 เดือน
ทะเบียนเกษตรกรที่รับรอง
3 ผลักดันเกษตรกรเข้าสู่ระบบตลาดเกษตรอินทรีย์
ดำเนินงานสร้างการเชื่อมโยงระหว่างภาคีเครือข่าย ประกอบด้วย บริษัท ศาลานา ออแกนิค วิลเลจ (วิสาหกิจเพื่อสังคม) จำกัด และตลาดบ้านรังนก กับเกษตรกร หรือกลุ่มเกษตรกรที่ได้รับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ SALANA PGS ให้เกิดการตกลงซื้อขายและมีพื้นที่สำหรับขายผลผลิตอินทรีย์ให้กับผู้บริโภค ส่งผลให้เกิดรายได้และโอกาสทางการตลาดที่หลากหลาย ในขณะเดียวกันสำหรับเกษตรกร หรือกลุ่มเกษตรกรที่มีความต้องการ และมีศักยภาพสามารถต่อยอดไปสู่ผู้ประกอบการ จะได้รับการสนับสนุนผ่านโครงการพัฒนาศักยภาพการเป็นผู้ประกอบการธุรกิจชุมชนต่อไป