โครงการอนุรักษ์และประมงพื้นบ้าน
บ้านปากน้ำปราณ อ.ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์
มูลนิธิสุทธิรัตน์ อยู่วิทยา ร่วมมือกับกลุ่มเกษตรกรทำประมงปากน้ำปราณ ตำบลปากน้ำปราณ อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (เริ่มปี 2563)เป้าหมายโครงการ
ขับเคลื่อนงานอนุรักษ์ประมงพื้นบ้านและผลักดันเกษตรกรผู้ทำประมงสู่การเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ ด้วยการ “ยกระดับสู่การเป็นผู้ประกอบการธุรกิจชุมชน” โดยดำเนินงานด้านการอนุรักษ์ ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล พร้อมดำเนินกิจกรรมแบบมีส่วนร่วมกับภาคีเครือข่าย ด้วยการทำงานร่วมกับชุมชน สถานศึกษา ภาครัฐ และภาคเอกชนตลอดแนวเขตพื้นที่อนุรักษ์
ความสําคัญของโครงการ
อาชีพทำประมงพื้นบ้าน เป็นอาชีพที่สร้างรายได้และเศรษฐกิจที่ดีให้กับชุมชน แต่ในขณะเดียวกัน “หากวิธีการทำประมงไม่ถูกต้อง ก็เป็นการทำลายทรัพยากรเช่นกัน” การอนุรักษ์ประมงพื้นบ้าน จึงเป็นการฟื้นคืนวิถีที่นำไปสู่การคืนทรัพยากรชายฝั่งอย่างยั่งยืน ด้วยการสร้างความร่วมมือของคนในชุมชนในการทำกิจกรรมอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรให้กลับมามีความสมบูรณ์อีกครั้ง
โครงการอนุรักษ์และประมงพื้นบ้าน
บ้านปากน้ำปราณ อ.ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์
THE FISHER FOLK WAY
Local Fishing Practice Conservation
Project with Goal Together and
U Volunteer Project
Local fishing practices is a way of living that has been intertwined with the lives of coastal communities for a long time. It is a valuable skill that is passed down from generation to generation, providing income and supporting the livelihoods of those living along the coast. However, due to advances in technology and the increase in commercial fishing, as well as fishing that uses illegal gears, the marine ecosystem on the coast has been adversely affected, causing a decline in the number of marine animals that once thrived. This has had an impact on the income of local fishermen. Many households have had to turn to other professions to make a living.
A group of fishermen in Pran estuary, Pak Nam Pran District, Pran Buri, Prachuap Khiri Khan, have been making a living out of fishing since their ancestors. When they noticed a declinein the number of marine animals, they came together to drive conservation efforts and foster cooperation among the people in the community to restore marine resources while findingways to generate income and boost the local economy in a sustainable way. Their goal is to revive the traditional fishing practices and preserve the marine ecosystem for the long run.
The Suthirat Yoovidhya notes the dedication of a group of fishermen who practice fishing in Pran estuary, and therefore support the improvement of the construction of nursery and
breeding ponds to be in a suitable condition, enough to hold the number of blue crab breeders deposited by the members. The foundation also supports the making of Sung or fish house made from natural decomposition materials (local artificial reef) and promotes the development
of products with the academic group through the U Volunteer project with the Silpakorn University (Petchburi IT campus) to process materials bought from fishermen in Pran estuary under SALANA PGS standards to control the quality of local fishing practice and processing, creating confidence for consumers in safe food and sustainable fishing practices that do not destroy the coastal marine environment. In addition, the foundation also invites Goal Together volunteers to learn about the conservation community and support sustainable conservation through the activity called, ‘Make Sung and Learn about the Blue Crab Bank at Pran Estuary’
to raise awareness, understanding, and communicate to the society further on.
การดําเนินโครงการ
การดำเนินงานโครงการ ปี 2564 ได้มีการปรับกระบวนการทำงานในชุมชนตามมาตรการการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ของรัฐบาล โดยดำเนินงานโครงการ ดังนี้
2.1 ดําเนินโครงการ “Goal Together”
ภายใต้มาตรการการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ของรัฐบาล ส่งผลให้การดำเนินงานโครงการไม่สามารถจัดกิจกรรมตามปกติได้ ดังนั้น จึงปรับแผนการดำเนินงานให้มีความสอดคล้องกับการทำงานในพื้นที่ โดยได้สนับสนุนอุปกรณ์ในการทำซั้ง (ปะการังเทียมพื้นบ้าน) ให้กับกลุ่มเกษตรกรทำประมงปากน้ำปราณ เพื่อทำซั้งร่วมกับชุมชนจากวัสดุที่มิตรต่อสิ่งแวดล้อม อาทิ ทางมะพร้าว ไม้ไผ่ และใช้เชือกปอมะนิลาแทนเชือกไนล่อน (เดิมใช้เชือกไนล่อนเป็นวัสดุหลักในการทำซั้ง) เนื่องจากเชือกปอมะนิลา เป็นวัสดุที่มาจากธรรมชาติไม่มีส่วนผสมของสารไมโครพลาสติก (Microplastics) ซึ่งสามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ และไม่ส่งผลกระทบต่อนิเวศทางทะเล
จากการดำเนินงานในปี 2563 (ปีที่1) ได้วางซั้ง จำนวน 100 ตัว และในปี 2564 (ปีที่ 2) ได้วางซั้ง จำนวน 75 ตัว บริเวณ 4 จุด ในระยะ 3,000 เมตร จากชายฝั่งในเขตพื้นที่ตำบลปากน้ำปราณ อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และได้มีการลงพื้นที่ติดตามผลการวางซั้งโดยมีอาสาสมัครโครงการ “Goal together” (นายแพทย์ขจรยุทธ บางท่าไม้) ที่ต่อยอดเข้าร่วม “โครงการอาสายั่งยืน” มาร่วมดำน้ำสำรวจเพื่อเก็บข้อมูลนิเวศบริเวณซั้งดังกล่าว พบว่า มีสิ่งมีชีวิตมาอาศัยอยู่บริเวณซั้งจำนวนมาก เช่น ปลาตัวเล็ก หอย เพรียงทะเล และสัตว์น้ำขนาดเล็ก ฯลฯ ในขณะเดียวกัน พบว่า ซั้งที่วางไว้บางส่วนยังคงสภาพดี แต่บางส่วนก็ล้มลงเพราะมีเพรียงทะเลและปะการังเกาะ แสดงให้เห็นว่าการดำเนินงานโครงการฯ สามารถเกิดความหลากหลายของระบบนิเวศบริเวณชายฝั่งในเขตพื้นที่ตำบลปากน้ำปราณ เกิดพื้นที่อนุบาลสัตว์น้ำขนาดเล็กและเป็นที่อยู่ของสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลบางชนิด ซึ่งจะส่งผลต่อความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรในระยะยาว
นอกจากนี้ ยังพบว่า เชือกมะนิลา มีอายุการใช้งานที่นานกว่าทางมะพร้าวและทุ่นไม้ไผ่ โดยทางมะพร้าวและทุ่นไม้ไผ่ จะหมดสภาพการใช้งานและย่อยสลายได้เร็วกว่า เชือกมะนิลา ในขณะเดียวกันเชือกปอมะนิลาที่ยังไม่ย่อยสลายจะตกลงสู่ผิวดินและเป็นที่อยู่ของสัตว์น้ำขนาดเล็ก โดยการเปลี่ยนแปลงนี้จึงสอดคล้องกับเป้าหมายของโครงการฯ ซึ่งเป็นแนวทางที่ช่วยไม่ให้เกิดการปนเปื้อนของไมโครพลาสติก (Microplastics) ในท้องทะเล
ในปี 2564 สนับสนุนทุนเพื่อการยกระดับเกษตรกรผู้ทำประมงสู่ผู้ประกอบการธุรกิจชุมชน จำนวน 600,000 บาท ในการดำเนินงาน ดังนี้
1) ให้ความรู้ และตรวจรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ โดยมูลนิธิสุทธิรัตน์ อยู่วิทยา ได้ดำเนินกิจกรรมให้ความรู้ ความเข้าใจมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ โดยเฉพาะขอบข่ายการเก็บผลผลิตจากธรรมชาติ พร้อมร่วมจัดทำเงื่อนไข และข้อกำหนดเกี่ยวกับการทำประมง ให้สอดคล้องตามข้อกำหนดมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ SALANA PGS ซึ่งการตรวจรับรองมาตรฐาน ในปี 2564 พบว่า กลุ่มเกษตรกรทำประมงปากน้ำปราณ ได้ดำเนินกิจกรรมเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ โดยมีการจับสัตว์น้ำด้วยเครื่องมือที่ถูกกฏหมายและการไม่ใช้สารเคมีในการทำประมง จึงได้รับการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ SALANA PGS ในขอบข่ายการเก็บผลผลิตจากธรรมชาติ ทั้งนี้ ในปี 2565 มีแผนการดำเนินงานให้ความรู้ ตรวจรับรอง และรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ในขอบข่ายการแปรรูปผลผลิต เพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อผู้บริโภคต่อไป
2) ปรับปรุงโครงสร้างบ่อรับฝากและขยายพันธุ์ปูม้าของโครงการธนาคารปูม้า ด้วยการซ่อมแซมบ่ออนุบาลที่มีสภาพชำรุดให้กลับมาใช้งานได้อย่างสมบูรณ์และเพียงพอต่อการนำฝากแม่พันธุ์ปูม้าของสมาชิก จำนวน 8 บ่อ อีกทั้ง ยังติดตั้งวัสดุ อุปกรณ์ที่ทำให้เกิดการจัดการที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น การติดตั้งพื้นกระเบื้องทำให้ง่ายต่อการทำความสะอาดและการเคลื่อนย้ายลูกปูลงสู่ทะเล การติดตั้งเครื่องเพิ่มออกซิเจนในน้ำ ทำให้เพิ่มออกซิเจนในบ่อปูส่งผลต่ออัตราการรอดชีวิตของลูกปูม้า
ห้องบรรจุ และห้องจัดเก็บผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป และได้สร้างความร่วมมือกับอาสาสมัคร โครงการ “Goal Together” (นางสาววิภา มงคลสุข) ที่ต่อยอดเข้าร่วม “โครงการอาสายั่งยืน” ซึ่งได้ลงพื้นที่ชุมชนเพื่อให้ความรู้ ให้คำแนะนำ และให้คำปรึกษาในเรื่องการผลิตอาหารที่ปลอดภัย ที่สอดคล้องตามข้อกำหนดกระบวนการผลิตอาหารของสำนักงานอาหารและยา (อย.)
4) พัฒนาศักยภาพการเป็นผู้ประกอบการธุรกิจชุมชน โดยร่วมมือกับมหาวิทยาลัยศิลปากร (วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี) ซึ่งได้ลงพื้นที่ศึกษาบริบทชุมชนเก็บข้อมูลและนำมาวิเคราะห์ศักยภาพ เพื่อใช้ในการออกแบบ วางแผน และกำหนดทิศทางการยกระดับจากเกษตรกรผู้ทำประมงสู่ผู้ประกอบการธุรกิจชุมชน ภายในระยะเวลา 3 ปี