โครงการ

Close

ศิลปวัฒนธรรม

วัดเพลงกลางสวน

วัดเพลงกลางสวน

เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร


          มูลนิธิสุทธิรัตน์ อยู่วิทยา ได้สนับสนุนการวาดภาพจิตรกรรมฝาผนัง ณ ภายในพระอุโบสถ วัดเพลง (กลางสวน) เพื่อดำรงรักษาศิลปวัฒนธรรมไทยให้คงไว้ ซึ่งมีกำหนดแล้วเสร็จภายในปี 2565 โดยในปี 2564 ได้ดำเนินงาน ดังนี้

     1) วาดภาพอริยมรรค มีองค์แปด คือ หนทางการดับทุกข์ บริเวณฝาผนังหลังพระประธาน

     2) วาดภาพสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชกับเหล่าทหารที่เคยมาพักแรมอยู่ ณ วัดแห่งนี้ บริเวณด้านหน้าพระประธานซ้าย ขวา ระหว่างบานประตู

     3) วาดภาพเทพชุมนุมมากราบสักการะพระพุทธเจ้า บริเวณฝาผนังด้านข้างซ้าย ขวา ช่วงบนผนังคอสอง

     4) เขียนเรื่องพระมาลัย ซึ่งเป็นเรื่องที่มีอิทธิพลต่อความคิด ความเชื่อของพุทธศาสนิกชนไทย บริเวณผนังช่องหน้าต่าง ซ้าย ขวา

     5) วาดแบบลายเถาผูกลายดอกบัว บริวณบานหน้าต่างด้านใน 6 คู่ 16 บาน


เกร็ดความรู้
“ภาพวาดจิตรกรรมฝาผนังของไทย”

     จิตรกรรมไทย หมายถึง ภาพวาดที่มีลักษณะเป็นแบบอย่างของไทย ที่แตกต่าง จากศิลปะของชนชาติอื่นอย่างชัดเจน ถึงแม้จะมีอิทธิพลศิลปะของชาติอื่นอยู่บ้าง แต่ก็สามารถ ดัดแปลง คลี่คลาย ตัดทอน หรือเพิ่มเติมจนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของตนเองได้อย่างสวยงาม ลงตัว น่าภาคภูมิใจและมีวิวัฒนาการทางด้านรูปแบบ และวิธีการมาตลอดจนถึงปัจจุบัน ซึ่งสามารถพัฒนาต่อไปอีกในอนาคต จิตรกรรมไทยเป็นลักษณะอุดมคติ เป็นภาพ 2 มิติ โดยนำสิ่งใกล้ไว้ตอนล่างของภาพ สิ่งไกลไว้ตอนบนของภาพ ใช้สีแบบเอกรงค์ คือ ใช้หลายสี แต่มีสีที่โดดเด่นเพียงสีเดียว

     จิตรกรรมไทย เป็นวิจิตรศิลป์อย่างหนึ่ง ซึ่งส่งผลสะท้อนให้เห็นวัฒนธรรมอันดี งามของชาติ มีคุณค่าทางศิลปะและเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้า เรื่องที่เกี่ยวกับ ศาสนา ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ชีวิตความเป็นอยู่ วัฒนธรรมการแต่งกาย ตลอดจนการแสดงการเล่นพื้นเมืองต่างๆ ของแต่ละยุคสมัย ที่ประกอบกันเป็นภาพจิตรกรรมไทย งานจิตรกรรมให้ความรู้สึกในความงามอันบริสุทธิ์น่าชื่นชม เสริมสร้างสุนทรียภาพขึ้นในจิตใจมวลมนุษยชาติได้โดยทั่วไป วิวัฒนาการของงาน จิตรกรรมไทยจึงแบ่งออกตามลักษณะรูปแบบทางศิลปกรรมของชาติในแต่ละยุคสมัยและมีความสวยงามที่แตกต่างกันแต่ยังคงความเป็นเอกลักษณ์ของประเทศผ่านงานจิตรกรรมสืบจนปัจจุบัน

วัดเพลงกลางสวน

เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร

{progress_list} {/progress_list}